เมนู

ภิกษุนั้นถามว่า
ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา
ใจหรือ น้ำในแม่น้ำคงคงจึงกลายเป็นเลือดปรากฏ
แก่ท่าน.

นางเปรตนั้นกล่าวว่า :-
ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสก
มีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง
และคิลานปัจจัย แก่สมณะทั้งหลายด้วยความไม่
พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่ครอบงำ
แล้วด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวายจีวร บิณฑบาต
ที่นอน ที่นั่งและคิลานปัจจัย แก่สมณะทั้งหลาย
ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น จงกลายเป็นเลือด
ปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะวิบากแห่งกรรม
นั้น น้ำในแน่น้ำคงคาจึงกลายเป็นเลือดปรากฏ
แก่ดิฉัน.

จบ อุตตรมาตุเปติวัตถุที่ 10

อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ 10



เรื่องของนางเปรตผู้เป็นมารดาของนายอุตตระนี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ทิวาวิหารคตํ ภิกฺขุํ. ในเรื่องนั้น มีการขยายความดัง
ต่อไปนี้ :- เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อปฐมมหาสังคีติ

เป็นไปแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะ พร้อมด้วยภิกษุ 12 รูป อยู่
ในราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงโกสัมพี ก็สมัยนั้น อำมาตย์
คนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน ได้ทำกาละแล้ว. ก็ในกาลก่อน อำมาตย์
นั้นได้เป็นผู้จัดตั้งการงานในพระนคร. ลำดับนั้น พระราชาจึง
รับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพผู้เป็นบุตรของอำมาตย์นั้นมา แล้ว
ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่บิดาดำรงอยู่ว่า เจ้าจงดูแลการงาน
ที่บิดาเจ้าจัดตั้งไว้.
อุตตรมาณพนั้น รับพระดำรัสแล้ว วันหนึ่ง ได้พานายช่าง
ไปป่า เพื่อต้องการไม้สำหรับซ่อมแซมพระนคร จึงเข้าไปยัง
ที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะในที่นั้น เห็นพระเถระผู้ทรง
บังสุกุลจีวร นั่งเงียบอยู่ในที่นั้น. จึงเลื่อมใสในอิริยาบถ ได้กระทำ
ปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระเถระแสดงธรรมแก่เธอ.
เธอสดับธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนไตร จึงตั้งอยู่ใน
สรณะแล้วนิมนต์พระเถระด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่าน
พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายจงรับภัตตาหารเพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้
โดยความอนุเคราะห์กระผมเถิด. พระเถระรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
เธอกลับจากที่นั้นแล้วไปยังนคร ได้บอกแก่อุบาสกเหล่าอื่นว่า
ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระเถระเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ถึงท่าน
ทั้งหลายก็พึงมายังโรงทานของข้าพเจ้า.
ในวันที่ 2 เวลาเช้าตรู่ เธอให้จัดขาทนียะ และโภชนียะ
อันประณีต แล้วให้แจ้งเวลา กระทำการต้อนรับพระเถระผู้มาพร้อม

กับภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้วมุ่งหน้าให้เข้าไปยังเรือน ลำดับนั้น
เมื่อพระเถระและภิกษุทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยเครื่องลาด
อันเป็นกัปปิยะควรค่ามาก ทำการบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และธูป
ให้พระเถระและภิกษุเหล่านั้นอิ่มหนำด้วยข้าวน้ำอันประณีต เกิด
ความเลื่อมใสกระทำอัญชลีฟังอนุโมทนา เมื่อพระเถระกระทำ
อนุโมทนาภัตรเสร็จแล้วไปอยู่ จึงถือบาตรตามส่ง ออกจากนคร
แล้วเมื่อจะกลับ วิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายพึง
เข้ามายังเรือนของข้าพเจ้าเป็นนิตย์ รู้ว่าพระเถระรับแล้วจึงกลับ.
เธออุปัฏฐากพระเถระอยู่อย่างนี้ ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ตั้งอยู่
ในโสดาปัตติผลแล้ว และได้สร้างวิหารถวาย ทั้งกระทำให้ญาติ
ของตนทั้งหมดเลื่อมใสในพระศาสนา.
ฝ่ายมารดาของเธอมีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุ่ม จึง
ได้บริภาษอย่างนี้ว่า เมื่อเรายังต้องการ เจ้าให้สิ่งไรแก่พวกสมณะ
สิ่งนั้นจงสำเร็จเป็นโลหิตแก่เจ้าในปรโลก. แต่นางอนุญาตกำหาง
นกยูงกำหนึ่งที่ให้ในวันฉลองวิหาร นางทำกาละแล้วเกิดในกำเนิด
เปรต แต่เพราะนางอนุโมทนาทานด้วยกำหางนกยูง นางจึงมีผม
ดำสนิท มีปลายตวัดขึ้น ละเอียด และยาว. ในคราวที่นางลงแม่น้ำ
คงคาด้วยคิดว่าจักดื่มน้ำนั้น แม่น้ำคงคาเต็มไปด้วยเลือด นางถูก
ความหิวกระหายครอบงำเที่ยวไปสิ้น 55 ปี วันหนึ่ง ได้เห็น
พระกังขาเรวตเถระนั่งพักกลางวัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จึงเอา
ผมของตนปิดตัวเข้าไปหา ข้อน้ำดื่ม ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-

นางเปรตมีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว
มีผมยาวห้อยลงมาจดพื้นดิน คลุมตัวด้วยผม เข้า
ไปหาภิกษุผู้อยู่ในที่พักกลางวัน. ซึ่งนั่งอยู่ริมฝั่ง
แม่น้ำคงคา ได้กล่าวกะภิกษุนี้ว่า.

คาถาทั้ง 2 นี้พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น ณ ที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุทสฺสนา แปลว่า เห็นเข้าน่ากลัว.
บาลีว่า รุทฺททสฺสนา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เห็นเข้าน่าเกลียดน่ากลัว.
บทว่า ยาวภูมาวลมฺพเร ได้แก่ มีผมห้อยย้อยลงมาถึงพื้นดิน. เมื่อ
ก่อนกล่าวว่าภิกษุ ภายหลังกล่าวว่าสมณะ หมายเอาเฉพาะพระกังขา-
เรวตเถระนั่นเอง.
ก็นางเปรตนั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว เมื่อจะขอน้ำดื่ม จึง
กล่าวคาถานี้ว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันตั้งแต่ตายจาก
มนุษยโลกมา ยังไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย
ตลอดเวลา 55 แล้ว ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่
ดิฉันผู้กระหายน้ำด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภิชานามิ ภตฺตํ วา ความว่า
ฉันไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย ในระยะกาลนานอย่างนี้
คือ ไม่ได้กินและไม่ได้ดื่ม. บทว่า ตสิตา แปลว่า ระหาย. มีวาจา
ประกอบความว่า บทว่า ปานียาย ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้เที่ยวไปเพื่อต้องการน้ำดื่ม.

เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบคาถาอันว่าด้วยคำและคำโต้ตอบของ
พระเถระ และของนางเปรต ดังต่อไปนี้
พระเถระกล่าวว่า :-
แม่น้ำคงคานี้มีน้ำเย็นใสสะอาด ไหลมา
จากภูเขาหิมพานต์ ท่านจงตักเอาน้ำจากแม่น้ำ
คงคานั้นดื่มเถิด จะมาขอน้ำดื่มกะเราทำไม.

นางเปรตกล่าวว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำ
คงคานี้เองไซร้ น้ำนั้นย่อมกลับกลายเป็นโลหิต
ปรากฏแก่ดิฉัน เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำดื่ม
กะท่าน.

พระเถระถามว่า :-
ท่านได้กระทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย
วาจา หรือใจ น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็น
โลหิตปรากฏแก่ท่าน.

นางเปรตตอบว่า :-
ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสก
มีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง
และคิลานปัจจัย แก่พระสมณะทั้งหลาย ด้วย
ความไม่พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่
ครอบงำแล้ว ด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวาย

จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และคิลานปัจจัย
แก่สมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น
จงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะ
วิบากแห่งกรรมนั้น น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลาย
เป็นโลหิตปรากฏแก่ดิฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมวนฺตโต ได้แก่ จากขุนเขา
ชื่อว่า หิมวันต์ เพราะมีหิมะมาก. บทว่า สนฺทติ แปลว่า ไหลไป.
บทว่า เอตฺโต ได้แก่จากแม่น้ำคงคาใหญ่นี้. ด้วยบทว่า กึ ท่าน
แสดงว่า ท่านขอน้ำดื่มกะเราทำไม ท่านจงลงสู่แม่น้ำคงคา ดื่มเอา
ตามชอบใจเถิด.
บทว่า โลหิตํ เม ปริวตฺตติ ความว่า น้ำเมื่อไหลไป ย่อมกลาย
คือ แปรเป็นโลหิต เพราะผลแห่งกรรมชั่วของดิฉัน น้ำ พอนางเปรต
นั้นตักขึ้น ก็กลายเป็นโลหิตไป.
บทว่า มยฺหํ อกามาย แปลว่า เมื่อดิฉันไม่ปรารถนา. บทว่า
ปเวจฺฉติ แปลว่า ย่อมให้. บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ คิลานปัจจัย.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เอตํ เป็นต้น ความว่า ด้วยวิบาก
แห่งกรรมชั่วที่ดิฉันทำไว้ ด้วยอำนาจการสาปแช่งว่า ก่อนอุตตระ
ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ที่เจ้าให้แก่สมณะนี้ จงกลายเป็นโลหิตแก่เจ้า
ในปรโลก.
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะ ได้ถวายน้ำดื่มแก่ภิกษุสงฆ์ อุทิศ
นางเปรตนั้น เที่ยวไปบิณฑบาต รับภัตต์แล้ว ได้ถวายแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ถือเอาผ้าบังสุกุล จากกองหยากเยื่อเป็นต้น ซักแล้วทำให้
เป็นฟูกและหมอน ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ด้วยเหตุนั้น นางเปรต
นั้น จึงได้ทิพยสมบัติ. นางไปยังสำนักพระเถระ แสดงทิพยสมบัติ
ที่ตนได้แก่พระเถระ พระเถระประกาศประวัตินั้นแก่บริษัท 4 ผู้
มายังสำนักตน แล้วแสดงธรรมกถา ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงเกิด
ความสังเวช เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน ยินดี
ยิ่งในกุศลธรรม มีทานและศีลเป็นต้น. ก็เปตวัตถุนี้ พึงเห็นว่า
ท่านยกขึ้นสู่สังคายนา ในทุติยสังคีติ.
จบ อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ 10

11. สุตตเปตวัตถุ



ว่าด้วยเปรตอยากกลับไปมนุษยโลก



หญิงคนหนึ่งไปอยู่กับเวมานิกเปรตตลอด 700 ปี เกิด
ความเบื่อหน่าย จึงกล่าวกะเวมานิกเปรตนั้นว่า
[108] เมื่อก่อน ฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจก-
พุทธเจ้าซึ่งเข้าไปขอถึงเรือนของฉัน วิบากแห่ง
การถวายด้ายนั้น ฉันจึงได้เสวยผลอันไพบูลย์
อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิบังเกิด
แก่ฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้
น่ารินรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพต่าง ๆ เพียบพร้อม
ไปด้วยเทพบุตรเทพธิดาผู้เป็นบริวาร ฉันเลือก
ใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุ
อันปลื้มใจมากมายก็ไม่หมดสิ้นไป ฉันได้รับ
ความสุขความสำราญในวิมานนี้ เพราะอาศัย
วิบากแห่งธรรมนั้น ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกแล้ว
จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำ
ฉันไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

เวมานิกเปรตนั้นกล่าวว่า
ท่านมาอยู่ในวิมานนี้ว่า 700 ปี เป็นคน
แก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง